สภาพทั่วไป

https://sikhiotown.go.th/wp-content/uploads/2024/06/สภาพทั่วไป.pdf

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

       1.ด้านกายภาพ

1.1  ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล 

เทศบาลเมืองสีคิ้ว  อยู่ในพื้นที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดนครราชสีมา ห่างจากจังหวัดนครราชสีมาเป็นระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร  โดยทางรถยนต์ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2  ถนนมิตรภาพ  เป็นระยะทางประมาณ  210  กิโลเมตรและโดยทางรถไฟเป็นระยะทาง 219 กิโลเมตร มีพื้นที่ 11.63 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับ 7,268.75 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

 ทิศเหนือ  ติดต่อกับหมู่บ้านหนองรี  หมู่ที่  3  ตำบลสีคิ้ว   อำเภอสีคิ้ว

ตั้งแต่หลักเขตที่  1  ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายสีคิ้ว – หนองน้ำขุ่น  ฟากใต้ห่างจากศูนย์กลาง    ทางหลวงแผ่นดิน  สายสีคิ้ว – ด่านขุนทด  300  เมตร  เส้นเขตเรียบตามริมถนนสายสีคิ้ว – หนองน้ำขุ่น     ฟากใต้ไปทางทิศตะวันออกถึงหลักเขตที่  2  ซึ่งตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินสายสีคิ้ว – ด่านขุนทดฟากตะวันออก

จากหลักเขตที่  2  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ถึงหลักเขตที่  3 ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนสายสีคิ้ว – บ้านหัน  ฟากตะวันตก

 ทิศตะวันออก  ติดต่อกับหมู่บ้านริมบึง หมู่ที่ 17 ตำบลสีคิ้วและเขตตำบลมะเกลือใหม่  อำเภอสูงเนิน  จังหวัดนครราชสีมา

จากหลักเขตที่   3  เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่ 4   ซึ่งตั้งอยู่ริมทางรถไฟตรง กม. 225.300

จากหลักเขตที่   4  เป็นเส้นตรงไปทางทิศใต้ถึงหลักเขตที่  5  ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพฟากเหนือตรง  กม. 212.150

จากหลักเขตที่   5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่  6  ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางถนนมิตรภาพ   ตามเส้นตั้งฉาก  400  เมตร

 ทิศใต้   ติดต่อกับหมู่บ้านมิตรภาพ  หมู่ที่ 1  ตำบลมิตรภาพและเขตตำบลมะเกลือใหม่   อำเภอสูงเนิน  จังหวัดนครราชสีมา

จากหลักเขตที่  6  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ถึงหลักเขตที่  7 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางถนนมิตรภาพ  ตรง กม. 211.500  ตามเส้นตั้งฉาก  400  เมตร

จากหลักเขตที่  7  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกถึงหลักเขตที่  8 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางถนนมิตรภาพ  ตรง  กม. 208.800  ตามแนวเส้นฉาก  400  เมตร

 ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่บ้านโรงงาน หมู่ที่ 11  ตำบลมิตรภาพ  อำเภอสีคิ้ว  จังหวัดนครราชสีมา  จากหลักเขตที่  8  เป็นเส้นตรงไปทางทิศเหนือ  ถึงหลักเขตที่ 9  ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ      ตรง  กม. 208.800

จากหลักเขตที่  9  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ริมทางรถไฟ  ตรง กม. 233

จากหลักเขตที่  10 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บรรจบหลักเขตที่   1

1.2  ลักษณะภูมิประเทศ

        เทศบาลเมืองสีคิ้ว  มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปทางตอนเหนือและตอนกลางมีสภาพเป็นลูกคลื่น  มีความชันของพื้นที่ประมาณร้อยละ  2-6  ทางตอนกลางบางส่วนและตอนใต้มีลักษณะเป็นภูเขาและทิวเขา  มีความสูงชันมากกว่าร้อยละ  35   มีภูเขาที่สำคัญคือ  เขาซับประดู่

1.3  ลักษณะภูมิอากาศ

        ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดนครราชสีมาเป็นที่ราบสูงซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง  ระหว่าง  150-300  เมตร  ทิศตะวันตกและทิศใต้มีภูเขาและป่าเป็นแนวยาวกั้นเขตแดน  คือทิวเขาดงพญาเย็น  (เขาใหญ่)  และทิวเขาดงรัก ส่วนบริเวณตอนล่างค่อนไปทางเหนือและตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม  ก่อให้เกิดต้นน้ำล้าธารสำคัญหลายสาย  เช่น  ลำน้ำมูล  ลำพระเพลิง  ล้ำตะคอง  ลำเชิงไกร  ลำปลายมาศ   ลำแซะ  ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัด

        ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดนครราชสีมาขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล                  2  ชนิด  คือ  มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนเข้าปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์จะอยู่ในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย                     ทำให้จังหวัดนครราชสีมามีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดเอาความชื้นจากทะเลและมหาสมุทรเข้าปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝน (ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม) ทำให้มีฝนตกชุกทั่วไป

ฤดูกาล

ฤดูกาลของจังหวัดนครราชสีมา พิจารณาตามลักษณะของลมฟ้าอากาศของประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้

        ฤดูหนาว  เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์  ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย และบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนซึ่งมีคุณสมบัติเป็นมวลอากาศเย็นและแห้งจะแผ่ลงปกคลุมประเทศไทยในช่วงดังกล่าว  ทำให้บริเวณจังหวัดนครราชสีมามีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป  ในบางปีฤดูหนาวอาจเริ่มช้ากว่ากำหนดนี้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยด้วย  สำหรับเดือนที่มีอากาศหนาวมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม

       ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม  ในระยะนี้เป็นช่วงว่างของฤดูมรสุม อากาศจะร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดในรอบปี

        ฤดูฝน  เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม  เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเอาความชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย  ทะเลอันดามันและอ่าวไทยมาปกคลุมประเทศไทย  ประกอบกับร่องความกดอากาศต่ำที่พาดอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน ในระยะนี้อากาศจะมีความชุมชื้นมาก  ทำให้มีฝนตกชุกมากขึ้นตั้งแต่ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป  โดยเฉพาะเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกหนาแน่นมากที่สุดในรอบปี  อย่างไรก็ตามนอกจากปัจจัยดังกล่าวที่จะทำให้มีฝนตกชุกแล้ว   ยังขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้หรือเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงดังกล่าวด้วยและหลังจากกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไปฝนจะเริ่มลดน้อยลง

อุณหภูมิ

        เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครราชสีมาเป็นที่ราบสูง  มีป่าและเทือกเขาสูงกั้นเขตแดนเป็นแนวยาวอากาศจึงค่อนข้างร้อนอบอ้าวมากในช่วงฤดูร้อน  ส่วนในฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น  อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปี  27.3  องศาเซลเซียส  อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย  22.8  องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย  33.0  องศาเซลเซียส  โดยเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดในรอบปี  ซึ่งเคยวัดอุณหภูมิสูงที่สุดได้  43.2  องศาเซลเซียส  (สถานีอุตุนิยมวิทยานครราชสีมา อ.เมือง)  เมื่อวันที่  11  เมษายน  2559  ส่วนในช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวที่สุดในเดือนธันวาคมถึงมกราคม อุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 3.6 องศาเซลเซียส ที่สถานีอุตุนิยมวิทยานครราชสีมา  (กลุ่มงานอากาศเกษตรปากช่อง)  อ.ปากช่อง เมื่อวันที่  31  ธันวาคม  2518

ฝน

        เนื่องจากจังหวัดนครราชสีมา  มีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นอยู่ทางทิศตะวันตก  ส่วนทางทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาพนมดงรัก  ซึ่งเป็นแนวขวางกั้นไม่ให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมโดยสะดวก  ทำให้มีฝนทางด้านตะวันตกและทางด้านใต้ของภูเขาเป็นส่วนมาก         ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปีจังหวัดนครราชสีมา  1,071.5  มิลลิเมตร  และมีจำนวนวันที่ฝนตกเฉลี่ย  111.2  วัน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกมากที่สุดในรอบปี ปริมาณฝนมากที่สุดใน 24 ชั่วโมง วัดได้ 172.6 มิลลิเมตร  ที่สถานีอุตุนิยมวิทยานครราชสีมา (กลุ่มงานอุตุนิยมวิทยาอุทกโชคชัย) อ.โชคชัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2519

พายุหมุนเขตร้อน

        พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวผ่านหรือเข้าสู่จังหวัดนครราชสีมา  มีแหล่งกำเนิดจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก  โดยเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนาม  กัมพูชาและลาวก่อนจะเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยท้าให้พายุหมุนเขตร้อนอ่อนกำลังเป็นพายุดีเปรสชันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีความรุนแรงไม่มากนัก  นอกจากทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากจนก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ในบางพื้นที่  สำหรับช่วงเวลาที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านหรือเข้าสู่จังหวัดนครราชสีมาจะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน  โดยเฉพาะเดือนกันยายนเป็นช่วงที่พายุหมุนเขตร้อนมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่จังหวัดนี้ได้มากที่สุดจากสถิติที่บันทึกตั้งแต่ปี  2494-2559  พบว่า  พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวผ่านจังหวัดนครราชสีมามีทั้งหมด  23  ลูก  มีกำลังแรงเป็นพายุดีเปรสชันทั้งหมด  ดังนี้  เดือนมิถุนายน 1 ลูก (2512)  เดือนสิงหาคม 1 ลูก  (2508)  เดือนกันยายน 12 ลูก (2501, 2502, 2506(2), 2512, 2515(2), 2522, 2528,2548,2556,2558)  เดือนตุลาคม 8 ลูก (2506, 2513, 2524, 2526, 2531, 2533, 2535, 2549)  และเดือนพฤศจิกายน 1 ลูก  (2517)

ที่ตั้งสถานีอุตุนิยมวิทยาในจังหวัดนครราชสีมา

         สภาวะอากาศที่จัดท้าขึ้นทั้งหมดนี้รวบรวมจากผลการตรวจอากาศของสถานีตรวจอากาศนครราชสีมา  (ประมาณละติจูด 14° 58° เหนือ ลองจิจูด 102°05° ตะวันออก  สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 187 เมตร)  ได้ทำการตรวจสารประกอบอุตุนิยมวิทยาต่างๆ วันละ  8  เวลา คือ 01.00, 04.00, 07.00, 10.00, 13.00, 16.00, 19.00  และ  22.00  น.  แล้วส่งรายงานผลการตรวจไปยังกรมอุตุนิยมวิทยาเพื่อรวบรวมและจัดทำข้อมูลสถิติภูมิอากาศ  ซึ่งสามารถติดต่อขอข้อมูลผลการตรวจอากาศ ได้โดยตรงกับสถานีฯ ตามที่อยู่ดังนี้

         สถานีอุตุนิยมวิทยานครราชสีมา 916  ถ.เดชอุดม ซ.4  ต.ในเมือง  อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา  30000  โทรศัพท์  044-255-841  อีเมล์  s48431@metnet.tmd.go.th

สถานีอุตุนิยมวิทยานครราชสีมา  (กลุ่มงานอุตุนิยมวิทยาอุทกโชคชัย)  186  ถ.นครราชสีมา

– โชคชัย  หมู่12  อ.โชคชัย  จ.นครราชสีมา  30190  โทรศัพท์ 044-491415  อีเมล์ s48434@metnet.tmd.go.th

สถานีอุตุนิยมวิทยานครราชสีมา (กลุ่มงานอากาศเกษตรปากช่อง) ตั้งอยู่ใน ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ  (ไร่สุวรรณฯ)  298  หมู่  1 ถ.มิตรภาพ   ต.กลางดง   อ.ปากช่อง  จ.นครราชสีมา   30320

โทรศัพท์  044-362101  อีเมล์  s48435@metnet.tmd.go.th

หมายเหตุ : ค่าเฉลี่ย หมายถึง ค่าเฉลี่ยคาบ 30 ปี  (ระหว่าง  พ.ศ. 2524-2553)

ค่าที่เป็นที่สุด หมายถึง  ค่าสถิติตั้งแต่  พ.ศ. 2494 –2559

 

(ที่มา : ศูนย์ภูมิอากาศ  สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา  กรมอุตุนิยมวิทยา  ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน  2559)

1.4  ลักษณะของดิน

          สภาพดินโดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายเหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชสวนพืชไร่ เช่น  มันสำปะหลัง  ข้าวโพด  อ้อย  ข้าว  มะม่วง  มากกว่าพืชอย่างอื่น

          ลักษณะการใช้ที่ดินในเขตเทศบาลเมืองสีคิ้ว  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตรและพื้นที่สำหรับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน  ซึ่งลักษณะการจัดสรรและใช้ประโยชน์จากที่ดินประเภทต่างๆ  ในเขตพื้นที่โดยประมาณ  ดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงลักษณะการใช้ที่ดินในเขตเทศบาลเมืองสีคิ้ว

 

ลักษณะการใช้ที่ดิน จำนวนพื้นที่  (ไร่) ร้อยละ
พื้นที่พักอาศัย 2,180.00 29.99
พื้นที่สำหรับการเกษตร 4,263.50 58.66
พื้นที่พาณิชยกรรม 360.00 4.95
พื้นที่อุตสาหกรรม 22.25 0.31
พื้นที่ตั้งหน่วยงานของรัฐ 30.00 0.41
พื้นที่ตั้งสถานศึกษาและวัด 250.00 3.44
สวนสาธารณะ/นันทนาการ 123.00 1.69
พื้นที่ว่างและพื้นที่สาธารณะ 40.00 0.55
รวม 7,268.75 100.00

 

1.5  ลักษณะของแหล่งน้ำ 

         แหล่งน้ำที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นน้ำจืดที่ได้จากแหล่งน้ำผิวดินและอยู่นอกเขต ซึ่งสามารถใช้อุปโภค – บริโภคและการเกษตรกรรม  ได้แก่

แหล่งน้ำที่อยู่นอกเขตเทศบาล  ได้แก่

– เขื่อนลำตะคอง  ใช้ในการผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอสีคิ้ว  สำหรับให้บริการประปาแก่ประชาชนในเขตและนอกเขตเทศบาลเมืองสีคิ้ว  เป็นโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่  อยู่ริมถนนมิตรภาพบริเวณตำบลคลองไผ่  อำเภอสีคิ้ว  เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2507 เสร็จในปี พ.ศ. 2515       ในเงินงบประมาณ  249  ล้านบาท  จุน้ำได้  310  ลูกบาศก์เมตร  สามารถส่งไปยังพื้นที่นาได้  238,000  ไร่  เป็นสถานที่ร่มรื่นขนานด้วยทางรถไฟและทางรถยนต์  มีธรรมชาติที่สวยงามเหมาะที่จะไปเที่ยวชมอย่างยิ่ง

– อ่างเก็บน้ำซับประดู่  ตั้งอยู่หมู่ที่ 6  ตำบลมิตรภาพ  อำเภอสีคิ้ว  เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่  เหมาะสำหรับการพักผ่อนและการเล่นกีฬาทางน้ำ  เช่น  วินเซิร์บ  ตกปลา  นอกจากนี้ยังมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวพักค้างคืนได้

แหล่งน้ำที่อยู่ในเขตเทศบาล  ได้แก่

–   ลำตะคอง  ซึ่งเป็นลำน้ำที่ไหลผ่าน

–   ลำคลอง  (คลองสามหงษ์ , คลองหลอด)                    จำนวน    2    แห่ง